Pages

Wednesday, July 1, 2020

บริษัท แสนสิริ กับความรับผิดชอบต่อสังคม - ฐานเศรษฐกิจ

tapalkila.blogspot.com

คอลัมน์ข้าพระบาท ทาสประชาชน ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3588 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 2-4 ก.ค.2563 โดย... ประพันธุ์ คูณมี

บริษัท แสนสิริ

กับความรับผิดชอบต่อสังคม

     หลบประเด็นเรื่องการเมือง และเรื่องทางสังคมที่วุ่นวาย แบบยังมองไม่เห็นอนาคตที่สดใส ไร้การปฏิรูปและพัฒนา หันมาดูเรื่องการบ้านปัญหาใกล้ตัวของคนผู้อยู่อาศัยในโครงการหรู และประชาชนผู้สัญจรไปมาบนถนนสุขุมวิท 77 ที่ต้องเกี่ยวข้องกับ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่อันดับต้นๆของประเทศอีกครั้ง

     เพราะเห็นแล้วอดสมเพทไม่ได้จริงๆ ครับว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ทุนจดทะเบียนนับหมื่นล้าน มียอดขายแต่ละปีนับแสนล้าน กำไรเป็นหมื่นล้านต่อปี ทำไมจึงมีพฤติกรรมที่น่ารังเกียจได้ถึงเพียงนี้ เกี่ยวกับการสร้างสะพานข้ามคลองพระโขนง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาที่ดินในโครงการ "Sansiri Town สุขุมวิท 77 หรือ T 77" แต่เรียกเก็บเงินค่าผ่านทางจากประชาชน แม้แต่ผู้ซื้ออาคารชุดในโครงการของบริษัท ยังไม่เว้น

แสนสิริ กับความรับผิดชอบต่อสังคม


     เรื่องนี้เมื่อ 20 ธันวาคม 2561 ผู้เขียนเคยเสนอบทความในคอลัมต์นี้มาแล้วครั้งหนึ่ง คือบทความเรื่อง "กทม.อย่าเอาสมบัติแผ่นดิน เอื้อประโยชน์เอกชน" ด้วยหวังว่า กทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอนุญาตให้ บริษัท แสนสิริ ก่อสร้างสะพานข้ามคลองพระโขนง ซึ่งเป็นคลองสาธารณะ เป็นทางน้ำ ทางระบายน้ำและทางเดินเรือที่ประชาชนใช้สัญจรไปมา เพื่อวัตถุประสงค์ในการเชื่อมที่ดินในโครงการของบริษัท จำนวน 5 โครงการ และ 1 ศูนย์การค้า ที่ตั้งอยู่สองฟากฝั่งคลองพระโขนง ให้สามารถมีถนนเชื่อมโยงโครงการข้ามคลองเข้าหาถึงกันได้ อันเป็นการเพิ่มมูลค่าที่ดินในโครงการ ทำกำไรให้แก่บริษัทเอกชนนับหลายหมื่นล้านบาทนั้น จะได้มีสำนึกแก้ไขเพื่อประโยชน์ประชาชน และ บริษัท แสนสิริ เอง จะได้รู้สึกละอายบ้างว่า ทำไมจึงมาเก็บเงินประชาชนที่ผ่านทางครั้งละ 10 บาท 20 บาท โดยปะหน้าพนักงานแบบกร่างๆ เหมือนประชาชนที่ต้องเดินทางผ่านสะพาน เป็นผู้มาพึ่งใบบุญบริษทก็มิปาน

     เหตุที่ บริษัท แสนสิริ ผู้ขออนุญาตสร้างสะพานข้ามคลองพระโขนงดังกล่าว ไม่มีสิทธิที่จะมาเก็บเงินจากประชาชน ผู้ใช้ทางข้ามสะพานดังกล่าว เพราะตามระเบียบกรุงเทพมหานคร การขออนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลอง "ผู้ขออนุญาตต้องยินยอมยกสะพานที่ก่อสร้างให้เป็นสาธารณประโยชน์ และมีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาสะพานดังกล่าวให้มีความมั่นคงแข็งแรง และสามารถใช้งานได้โดยสะดวกด้วย"

แสนสิริ กับความรับผิดชอบต่อสังคม

     แต่ทั้ง กทม.และ บริษัท ก็ทำเป็นดื้อตาใส ทำตัวเป็นพวกศรีธนญชัยหัวหมอ ตั้งด่านเก็บเงินก่อนขึ้นสะพานและที่ปลายสะพาน โดยข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่เขตวัฒนา อ้างว่า "บริษัทไม่ได้ตั้งด่านเก็บเงินอยู่บนสะพาน แต่ตั้งอยู่บนที่ดินของโครงการของเอกชน" ถ้ามีเจ้าหน้าที่ กทม.หัวหมอเลี่ยงบาลีแบบนี้ เอกชนคงอ้างกันได้ทั่วประเทศ ว่ายกสะพานให้ แต่ไม่ให้ทางขึ้นลงเบียดบังเอาที่สาธารณะหากินกันสบาย และบริษัทคงได้รับคำแนะนำเช่นนี้กระมัง

     ที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2557 บริษัท แสนสิริ จึงได้ตั้งด่านเก็บเงินที่ปลายสะพานทางขึ้นลง จากรถยนต์ที่ผ่านทางคันละ 20บาท จักรยานยนต์ 10 บาท ต่อเนื่องมายาวนนาน โดยไม่นำพาและสนใจเสียงก่นด่า หรือการทักท้วงจากสังคม ผิดวิสัยของบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แบบไม่สนใจเรื่องธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมใดๆ เลย

     การกระทำของ บริษัท แสนสิริ กับ กทม.เช่นนี้ ถือว่าเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องมาร่วม 6 ปีแล้ว โดยที่ยังไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี แต่อยู่ๆ เมื่อปลายเดือนไม่กี่วันที่ผ่านมา ปรากฎว่า มีการรื้อที่ตั้งด่านและป้อมที่ใช้เป็นตู้แลกบัตรเรียกเก็บเงินจากประชาชนด้านฝั่งถนนซอยสุขุมวิท 77 (ซอยอ่อนนุช) ออกหมดเกลี้ยง รถยนต์ จักรยานยนต์ สามารถวิ่งผ่านขึ้นสะพานได้

     แต่ความทุเรศและความน่าสมเพทสำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่รายนี้ยังมีอีกคือ ประชาชนคิดว่าจะเลิกไปเลย กลับมีการตั้งด่านและกำลังจะสร้างป้อมยามเป็นตู้ให้พนักงานบริษัท ใช้เป็นที่แลกบัตรเรียกเก็บเงินกับประชาชนต่อไปอีก บนที่ดินที่ต้องผ่านโครงการของตนออกสู่ทางสาธารณะ ด้านถนนใต้ทางด่วนไปสู่ถนนพระโขนง และขึ้นทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา

     ทั้งๆ ที่ระยะทางที่ต้องผ่านที่ดินในโครงการมีพื้นที่เท่าแมวดิ้นตาย คือผ่านที่ดินในโครงการไม่ถึง 100 เมตร เหตุใดบริษัท จึงไม่ยอมยกให้เป็นทางสาธารณะ ให้อยู่ในความดูแลของ กทม.เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไปมาได้ ไม่ต้องเสียค่าผ่านทาง

     ลักษณะพฤติกรรมการแสดงออกของ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะปี 2562 มีกำไรสะสม-ยังไม่ได้จัดสรรถึง 11,628,178,858 บาท แต่กลับเห็นแก่ได้กับเงิน 10 บาท 20 บาท แบบไร้เกียรติและน่าอาย ไม่สมฐานะของบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ และไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate social responsibility)

     ทั้งที่บริษัทได้ประโยชน์มหาศาลจากการที่รัฐอนุญาตให้สร้างสะพานข้ามคลองพระโขนง อันเป็นการอาศัยประโยชน์จากสมบัติแผ่นดิน ที่เป็นสาธารณประโยชน์สำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน มาเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจตน แทนที่จะรู้สำนึกตอบแทนสังคมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่บริษัท ( Coporate Image) กลับเห็นแก่เล็กแก่น้อยทำลายโอกาสที่ดีนั้นเสีย ใครก็ตามหรือผู้บริหารท่านใดแนะนำให้บริษัททำเช่นนั้น เลิกเถอะครับ ทบทวนตนเองเสียใหม่ ประชาชนที่ขับรถข้ามสะพาน ผ่านเส้นทางดังกล่าว ต่างมองท่านด้วยความความสมเพทจริงๆ

     เรื่องสะพานแห่งนี้ จะยังไม่จบลงง่ายๆ ตราบใดที่บริษัท แสนสิริ ยังทำตนเป็นศรีธนญชัย ไม่ยอมยกที่ดินเท่าแมวดิ้นตายนี้ให้เป็นประโยชน์สาธารณะ การที่บริษัทยอมรื้อที่ตั้งด่านเก็นเงินก่อนขึ้นสะพาน เท่ากับยอมรับและจำนนว่า ที่ผ่านมาบริษัทบุกรุกที่สาธารณะ ตั้งด่านเก็บเงินโดยไม่ชอบผิดต่อกฎหมาย ความผิดนี้ยังไม่ขาดอายุความ รวมถึงเจ้าหน้าที่ กทม.ที่อนุญาตให้สร้างสะพาน โดยให้สิทธิบริษัทสามารถเรียกเก็บเงินได้ อาจเข้าข่ายของการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ บริษัทอาจตกเป็นจำเลยร่วมฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดนั้นได้

     คิดผิดคิดใหม่ได้ ทำผิดสำนึกผิดทำให้ถูกต้องได้ครับ ท่านยังอาจได้รับโอกาสและความปราณี แต่ถ้าทำผิดแล้วยังดื้อตาใส ตะแบงไปเรื่อยๆ แถมหัวหมอทำตนเป็นพวกศรีธนญชัย ระวังจะตายน้ำตื้นน่ะครับ ที่ยังลอยนวลอยู่ได้อย่าคิดว่าตนทำถูก มีอำนาจบารมีอิทธิพลเงินตราค้ำจุน วันที่กฎหมายและกรรมตามมาทัน ท่านอาจจะรู้ว่านรกมีจริง คุกไม่ได้มีไว้ขังเฉพาะคนจนน่ะครับ

     ก่อนจบขอฝากสุภาษิตไทยให้บริษัทได้คิด "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" ครับ เปลี่ยนใจปรับวิธีคิดเสียใหม่ ยังไม่สายเกินแก้

​​​​​​


Let's block ads! (Why?)



"ต่อ" - Google News
July 02, 2020 at 05:00AM
https://ift.tt/2YOGvjy

บริษัท แสนสิริ กับความรับผิดชอบต่อสังคม - ฐานเศรษฐกิจ
"ต่อ" - Google News
https://ift.tt/2TWExL0

No comments:

Post a Comment